เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสพระปริยัตติธรรม ที่เสมือนพุ่มไม้งาม
ในป่า ที่ยอดกิ่งออกดอกบานสะพรั่งอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยพระปริยัตติ-
ธรรมนั้นนั่นแล จึงทรงประกอบสัจจวจนะ ที่มีพุทธรัตนะเป็นที่ตั้งว่า อิทมฺปิ
พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ
แม้อันนี้ ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า. ความ
แห่งสัจจวจนะนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาก่อนแล้วนั่นแล. แต่พึงประกอบ
ความอย่างเดียวอย่างนี้ว่า คุณชาตกล่าวคือพระปริยัตติธรรมมีประการตามที่
กล่าวมาแล้ว แม้นี้ ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า. พวกอมนุษย์ใน
แสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้แล.

พรรณนาคาถาว่า วโร วรญฺญู


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะ ที่มีพุทธรัตนะเป็นที่ตั้ง
ด้วยปริยัตติธรรมอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงทรงเริ่มตรัสด้วยโลกุตรธรรมว่า วโร
วรญฺญู.
ในคำนั้น บทว่า วโร ความว่า พระพุทธเจ้าผู้อันผู้มีอัธยาศัย
น้อมใจเธอที่ประณีตปรารถนาว่า โอหนอ ! แม้เรา ก็จักเป็นเช่นนี้. หรือ
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสูงสุด ประเสริฐสุด เพราะประกอบด้วยพระคุณอัน
ประเสริฐ. บทว่า วรญฺญู ได้แก่ ผู้ทรงรู้พระนิพพาน. จริงอยู่ พระนิพพาน
ชื่อว่า ประเสริฐ เพราะอรรถว่าสูงสุดกว่าธรรมทั้งปวง. ก็พระพุทธเจ้าพระ-
องค์นั้น ตรัสรู้ปรุโปร่ง ซึ่งพระนิพพานนั้น ที่โคนโพธิพฤกษ์ ด้วยพระองค์
เอง. บทว่า วรโท. ความว่า ประทานธรรมอันประเสริฐที่เป็นส่วนตรัสรู้
และส่วนที่อบรมบ่มบารมีแก่สาวกทั้งหลาย มีพระปัญจวัคคีย์ พระภัททวัคคีย์
และชฎิลเป็นต้น และแก่เทวดาและมนุษย์อื่น ๆ. บทว่า วราหโร ได้แก่
ที่เรียกว่า วราหโร เพราะทรงนำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐ จริงอยู่ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงบำเพ็ญบารมี 30 ทัศ มาตั้งแต่พระพุทธเจ้า